ความสำคัญของขนมไทย
ความสำคัญของขนมไทย
ขนมไทยหัตถกรรมความอร่อยที่แสดงออกถึงความอ่อนช้อยของความเป็นไทยตั้งแต่ครั้งอดีตกาลที่ก่อกำเนิดภูมิปัญญาไทยหลากหลายอย่างให้ สืบสานต่อทั้งวิถีชีวิตประเพณีวัฒนธรรมที่สามารถนำวัสดุมีอยู่ในท้องถิ่นมาปรุงแต่งเป็นของหวานได้มากหลายรูปแบบจัดเป็นมรดกทางวัฒน ธรรมอย่างหนึ่งที่บ่งบอกว่าคนไทยมีลักษณะนิสัยอย่างไรเพราะขนมแต่ละชนิดล้วนมีเสน่ห์แสดงให้เห็นถึงความละเอียดอ่อนประณีตวิจิตรบรร จงในรูปลักษณ์ตั้งแต่วัตถุดิบที่ใช้วิธีการทำที่กลมกลืนความพิถีพิถันสีที่ให้ความสวยงามมีกลิ่นหอมรสชาติของขนมที่ละเมียดละไมชวนให้รับ ประทานแสดงให้เห็นว่าคน ไทยเป็นคนใจเย็น รักสงบ มีฝีมือเชิงศิลปะคำว่า “ขนม” เข้าใจว่ามาจากคำสองคำที่มาผสมกันคือ “ข้าวหนม” และ ” ข้าวนม” เข้าใจว่าเป็นข้าวผสมน้ำอ้อย น้ำตาล โดยอนุโลมคำว่าหนม แปลว่า หวาน ข้าวหนม ก็แปลว่า ข้าวหวาน เรียกสั้นๆ เร็วๆ ก็กลายเป็น ขนม ไป ส่วนที่ว่ามาจากข้าวนม (ข้าวเคล้านม) นั้นดูจะเป็นตำนานแขกโบราณ อย่างข้าวมธุปายาส (ที่นางสุชาดาทำถวายพระพุทธเจ้าเมื่อตอนตรัสรู้ก็ว่าเป็นข้าวหุงกับนม) คำว่า ขนม มีใช้มาหลายร้อยปียากจะสันนิฐานแน่นอนได้ เช่นเดียวกับไม่มีหลักฐานยืนยันแน่นอนว่า “ขนมไทย” เกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยใดเป็นครั้งแรก แต่ตามประวัติศาสตร์ไทยมีหลักฐานตอนหนึ่งว่า มีการจารึกชื่อขนมในแท่งศิลาจารึก เป็นการจารึกแบบลายแทงสมัยโบราณ ขนมที่ปรากฏคือ ” ไข่กบ นกปล่อยบัวลอยอ้ายตื้อ”ถามผู้ใหญ่ดูถึง ได้รู้ว่า
ไข่กบ หมายถึง เม็ดแมงลัก นกปล่อย หมายถึง ลอดช่อง บัวลอย หมายถึง ข้าวตอก อ้ายตื้อ หมายถึง ข้าวเหนียว ขนมทั้งสี่ใช้น้ำกระสายอย่างเดียวกันคือ
” น้ำกะทิ” โดยใช้ถ้วยใส่ขนม ซึ่งเราเรียกการเลี้ยงขนม ๔ อย่างนี้ว่า “ประเพณี ๔ ถ้วย”
ขนมประเภทที่ใช้ข้าว(แป้ง)น้ำตาลมะพร้าวคงจะมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยาตอนต้นเพราะมีการติดต่อกับต่างประเทศกล่าวว่าในสมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราชมีท่านผู้หญิงของเจ้าพระยาวิชาเยนชร์บรรดาศักดิ์“ท้าวทองกีบม้า”ทำหน้าที่เป็นผู้กำกับชาวพนักงานของหวานได้ประดิษฐ์ คิดค้นขนมตระกูลทองเพราะมีไข่ผสมคือ ทองหยิบ ทองหยอด ทองพลุ ฝอยทอง ทองโปร่ง เป็นต้กาพย์เห่ชมเครื่องคาว-หวาน บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๒ ที่ทรงพระราชนิพนธ์ ชมพระศรีสุริเยนทรา บรมราชชนนีด้วยกระบวนแต่งเครื่องเสวย ที่ไม่มีผู้ใดจะเสมอได้ในครั้งนั้น ด้วยกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน ที่ไพเราะยิ่ง ในฝีพระหัตถ์ด้วย
ไข่กบ หมายถึง เม็ดแมงลัก นกปล่อย หมายถึง ลอดช่อง บัวลอย หมายถึง ข้าวตอก อ้ายตื้อ หมายถึง ข้าวเหนียว ขนมทั้งสี่ใช้น้ำกระสายอย่างเดียวกันคือ
” น้ำกะทิ” โดยใช้ถ้วยใส่ขนม ซึ่งเราเรียกการเลี้ยงขนม ๔ อย่างนี้ว่า “ประเพณี ๔ ถ้วย”
ขนมประเภทที่ใช้ข้าว(แป้ง)น้ำตาลมะพร้าวคงจะมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยาตอนต้นเพราะมีการติดต่อกับต่างประเทศกล่าวว่าในสมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราชมีท่านผู้หญิงของเจ้าพระยาวิชาเยนชร์บรรดาศักดิ์“ท้าวทองกีบม้า”ทำหน้าที่เป็นผู้กำกับชาวพนักงานของหวานได้ประดิษฐ์ คิดค้นขนมตระกูลทองเพราะมีไข่ผสมคือ ทองหยิบ ทองหยอด ทองพลุ ฝอยทอง ทองโปร่ง เป็นต้กาพย์เห่ชมเครื่องคาว-หวาน บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๒ ที่ทรงพระราชนิพนธ์ ชมพระศรีสุริเยนทรา บรมราชชนนีด้วยกระบวนแต่งเครื่องเสวย ที่ไม่มีผู้ใดจะเสมอได้ในครั้งนั้น ด้วยกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน ที่ไพเราะยิ่ง ในฝีพระหัตถ์ด้วย
ขนมไทยในวิถีไทย
วิถีชีวิตของคนไทยนั้นเป็นสังคมเกษตรที่มีผลิตผลทางธรรมชาติอยู่มากมายเช่นกล้วยอ้อยมะม่วงรวมไปถึงข้าวเจ้าข้าวเหนียวฯลฯที่สามารถ ปรุงเป็นขนมได้มากมายหลายชนิดเช่นอยากได้กะทิก็เก็บมะพร้าวมาขูดคั้นน้ำกะทิอยากได้แป้งก็นำข้าวมาโม่เป็นแป้งทำขนมอร่อยๆเช่นบัวลอยกิน กันเองในครอบครัวขนมไทยถูกนำไปใช้ในงานบุญตามประเพณีและงานพิธีกรรม ที่เกี่ยวข้องในวิถีชีวิตชาวไทย โดยนิยมทำขนมชื่อมีมงคล ได้แก่ ขนมตระกูลทองทั้งหลาย เพราะคนไทยถือว่า “ทอง” เป็น ของดีมีมงคลทำแล้วได้มีบุญกุศล มีเงินมีทอง มีลาภยศ สรรเสริญ สมชื่อขนมนั่นเอง
ขนมไทยในงานประเพณี ที่นิยมใช้ในงานประเพณีต่างๆ มีดังนี้
เทศกาลสงกรานต์ซึ่งถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ไทยจะใช้ขนมที่เป็นมงคลนามจัดเป็นขนมชั้นดีใช้ในการทำบุญเลี้ยงพระแล้วก็เตรียมขนมสำหรับรับรอง แขกเหรื่อที่มารดน้ำดำหัวขอพรผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือสมัยโบราณจะกวนกะละแมแต่ปัจจุบันอาจใช้ขนมอื่นๆที่อร่อยและสวยงามเช่นขนมชั้นขนมลูก ชุบตามความสะดวก เทศกาลเข้าพรรษา (แรม ๑ ค่ำเดือน ๘) ขนมไทยที่ใช้ได้แก่ ข้าวต้มมัดและขนมแกงบวดต่างๆ เช่น ฟักทองแกงบวด กล้วยบวชชี เป็นต้น
เทศกาลออกพรรษา มีพิธีทำบุญตักบาตรเทโว ขนมที่ใช้ในการทำบุญ คือข้าวต้มลูกโยน
สารทไทย เป็นงานประเพณีที่ชาวไทยทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติมิตรผู้ล่วงลับ จะมีขนมไทยประจำภาค อาทิ
ภาคเหนือ : กล้วยตาก เพราะมีกล้วยมาก นอกจากตากก็มีกวนและของแช่อิ่ม
ภาคกลาง : กระยาสารท เคียงคู่กับกล้วยไข่
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : เรียกว่า งานบุญข้าวจี่ ขนมที่ใช้ได้แก่ ขนมเทียน ข้าวจี่
ภาคใต้ : เรียกว่างานบุญเดือนสิบ ขนมที่ใช้ได้แก่ ขนมลา ขนมกง ขนมพอง
ขนมไทยในพิธีกรรม ขนมที่นิยมใช้ทำบุญเลี้ยงพระในงานมงคลหรือพิธีกรรมที่ขาดไม่ได้ ได้แก่
• ขนมตระกูลทอง เช่น ทองเอก ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง และ• ขนมมงคลนาม เช่น ขนมถ้วยฟู ขนมชั้น ขนมจ่ามงกุฎ
ขนมเสน่ห์จันทร์ ขนมไทยในพิธีกรรมต่างๆ มีดังนี้
พิธีแต่งงาน นอกจากจะมีขนมมงคลนามที่ใช้ในงานมงคลแล้ว ที่ต้องมีคือ • ขนมกงรูปร่างเป็นล้อรถไม่มีรอยต่อมีความเชื่อว่าจะทำให้ความรักของคู่บ่าวสาวจีรัง ไม่มีวันแยกจากกัน
• ขนมโพรงแสม มีรูปร่างยาวใหญ่คล้ายกับเสาเรือน ทำให้อยู่กันยืนยาว
• ขนมสามเกลอ มีลักษณะเป็นสามก้อนติดกัน ให้คู้บ่าวสาวเสี่ยงทายว่าจะอยู่ด้วยกันได้นานหรือไม่ หากขนมแยกจากกันก็ถือว่าไม่ใช่เนื้อคู่ที่แท้จริง นอกจากนี้ยังมี • ขนมใส่ไส้ • ขนมฝักบัว • ขนมบ้าบิ่น • ขนมนมสาว อีกด้วย
พิธีบวงสรวงสังเวยเทพยดาและพระภูมิ นิยมใช้ขนมที่เป็นมงคลนามแล้ว ก็มีขนมตามความเชื่อ ในลัทธิพราหมณ์ ดังนี้ • ขนมต้มแดง • ขนมต้มขาว • ขนมเล็บมือนาง • ขนมคันหลาว • ขนมดอกจอก• ขนมทองหยิบ • ขนมถั่วแปบ • ขนมหูช้าง • ข้าวเหนียวแดง • ขนมประเภทบวชต่าง ขนมไทยสู่ตลาดโลก
ปัจจุบันขนมไทยก้าวไกลสู่ตลาดนานาประเทศทั่วโลกสามารถทำชื่อเสียงให้กับประเทศไทยของเราอีกทางหนึ่งเช่นขนมไทยจากบ้านขนมไทย นพวรรณ ของอาจารย์นพวรรณ จงสุขสันติกุเมื่อพูดถึงขนมไทย หลายคนอาจนึกถึงความหวานมันของกะทิ และความหวานของน้ำตาล ซึ่งมีผลต่อสุขภาพมากมาย แต่ถ้าพูดถึง ขนมไทยเพื่อสุขภาพ หลายคนอาจสงสัยว่า ความหวานกับความมัน จะดีต่อสุขภาพได้อย่างไร ? แต่อาจารย์นพวรรณทำได้ โดยพัฒนา รูปแบบ และดัดแปลงความหวานด้วยการใช้ความหวานจากผลไม้ส่วนความมันกะทิก็ลดปริมาณลงแล้วใส่ข้าวบาร์เลย์แทนหรือการนำพืชผักและสมุนไพรมา เป็นส่วนผสมด้วยเช่นดอกอัญชันแทนสีน้ำเงินดอกคำฝอยแทนสีแดงใบเตยแทนสีเขียวหรือใส่งาดำเพิ่มคุณค่าอาหารทำให้เกิดขนมไทยรูปแบบใหม่ มีความอร่อยลงตัวและส่งผลดีต่อสุขภาพได้ด้วยบ้านขนมไทยนพวรรณมีขนมให้เลือกมากมายกว่า๑๐๐ชนิดด้วยการผลิตที่สดใหม่ซึ่งเป็นจุดเด่นที่ทำ ชื่อเสียงให้กับบ้านขนมไทย เน้นการจัดตกแต่งและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ความเป็นไทยทำให้ขนมไทยนพวรรณมีชื่อเสียงและขยายธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศใน รูปแบบ แฟรนไชส์ ที่มีมาตรฐานและคุณภาพ ช่วยให้ท่านสามารถเลือกใช้ขนมไทยในโอกาสพิเศษ เช่น งานเลี้ยงต่างๆ หรือการประชุมหรือเป็นของขวัญของฝากผู้ใหญ่ ญาติสนิทมิตรสหายได้ทุกเทศกาล หรือจะทำเป็นธุรกิจ SME ส่วนตัว ก็สามารถทำได้
วิถีชีวิตของคนไทยนั้นเป็นสังคมเกษตรที่มีผลิตผลทางธรรมชาติอยู่มากมายเช่นกล้วยอ้อยมะม่วงรวมไปถึงข้าวเจ้าข้าวเหนียวฯลฯที่สามารถ ปรุงเป็นขนมได้มากมายหลายชนิดเช่นอยากได้กะทิก็เก็บมะพร้าวมาขูดคั้นน้ำกะทิอยากได้แป้งก็นำข้าวมาโม่เป็นแป้งทำขนมอร่อยๆเช่นบัวลอยกิน กันเองในครอบครัวขนมไทยถูกนำไปใช้ในงานบุญตามประเพณีและงานพิธีกรรม ที่เกี่ยวข้องในวิถีชีวิตชาวไทย โดยนิยมทำขนมชื่อมีมงคล ได้แก่ ขนมตระกูลทองทั้งหลาย เพราะคนไทยถือว่า “ทอง” เป็น ของดีมีมงคลทำแล้วได้มีบุญกุศล มีเงินมีทอง มีลาภยศ สรรเสริญ สมชื่อขนมนั่นเอง
ขนมไทยในงานประเพณี ที่นิยมใช้ในงานประเพณีต่างๆ มีดังนี้
เทศกาลสงกรานต์ซึ่งถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ไทยจะใช้ขนมที่เป็นมงคลนามจัดเป็นขนมชั้นดีใช้ในการทำบุญเลี้ยงพระแล้วก็เตรียมขนมสำหรับรับรอง แขกเหรื่อที่มารดน้ำดำหัวขอพรผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือสมัยโบราณจะกวนกะละแมแต่ปัจจุบันอาจใช้ขนมอื่นๆที่อร่อยและสวยงามเช่นขนมชั้นขนมลูก ชุบตามความสะดวก เทศกาลเข้าพรรษา (แรม ๑ ค่ำเดือน ๘) ขนมไทยที่ใช้ได้แก่ ข้าวต้มมัดและขนมแกงบวดต่างๆ เช่น ฟักทองแกงบวด กล้วยบวชชี เป็นต้น
เทศกาลออกพรรษา มีพิธีทำบุญตักบาตรเทโว ขนมที่ใช้ในการทำบุญ คือข้าวต้มลูกโยน
สารทไทย เป็นงานประเพณีที่ชาวไทยทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติมิตรผู้ล่วงลับ จะมีขนมไทยประจำภาค อาทิ
ภาคเหนือ : กล้วยตาก เพราะมีกล้วยมาก นอกจากตากก็มีกวนและของแช่อิ่ม
ภาคกลาง : กระยาสารท เคียงคู่กับกล้วยไข่
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : เรียกว่า งานบุญข้าวจี่ ขนมที่ใช้ได้แก่ ขนมเทียน ข้าวจี่
ภาคใต้ : เรียกว่างานบุญเดือนสิบ ขนมที่ใช้ได้แก่ ขนมลา ขนมกง ขนมพอง
ขนมไทยในพิธีกรรม ขนมที่นิยมใช้ทำบุญเลี้ยงพระในงานมงคลหรือพิธีกรรมที่ขาดไม่ได้ ได้แก่
• ขนมตระกูลทอง เช่น ทองเอก ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง และ• ขนมมงคลนาม เช่น ขนมถ้วยฟู ขนมชั้น ขนมจ่ามงกุฎ
ขนมเสน่ห์จันทร์ ขนมไทยในพิธีกรรมต่างๆ มีดังนี้
พิธีแต่งงาน นอกจากจะมีขนมมงคลนามที่ใช้ในงานมงคลแล้ว ที่ต้องมีคือ • ขนมกงรูปร่างเป็นล้อรถไม่มีรอยต่อมีความเชื่อว่าจะทำให้ความรักของคู่บ่าวสาวจีรัง ไม่มีวันแยกจากกัน
• ขนมโพรงแสม มีรูปร่างยาวใหญ่คล้ายกับเสาเรือน ทำให้อยู่กันยืนยาว
• ขนมสามเกลอ มีลักษณะเป็นสามก้อนติดกัน ให้คู้บ่าวสาวเสี่ยงทายว่าจะอยู่ด้วยกันได้นานหรือไม่ หากขนมแยกจากกันก็ถือว่าไม่ใช่เนื้อคู่ที่แท้จริง นอกจากนี้ยังมี • ขนมใส่ไส้ • ขนมฝักบัว • ขนมบ้าบิ่น • ขนมนมสาว อีกด้วย
พิธีบวงสรวงสังเวยเทพยดาและพระภูมิ นิยมใช้ขนมที่เป็นมงคลนามแล้ว ก็มีขนมตามความเชื่อ ในลัทธิพราหมณ์ ดังนี้ • ขนมต้มแดง • ขนมต้มขาว • ขนมเล็บมือนาง • ขนมคันหลาว • ขนมดอกจอก• ขนมทองหยิบ • ขนมถั่วแปบ • ขนมหูช้าง • ข้าวเหนียวแดง • ขนมประเภทบวชต่าง ขนมไทยสู่ตลาดโลก
ปัจจุบันขนมไทยก้าวไกลสู่ตลาดนานาประเทศทั่วโลกสามารถทำชื่อเสียงให้กับประเทศไทยของเราอีกทางหนึ่งเช่นขนมไทยจากบ้านขนมไทย นพวรรณ ของอาจารย์นพวรรณ จงสุขสันติกุเมื่อพูดถึงขนมไทย หลายคนอาจนึกถึงความหวานมันของกะทิ และความหวานของน้ำตาล ซึ่งมีผลต่อสุขภาพมากมาย แต่ถ้าพูดถึง ขนมไทยเพื่อสุขภาพ หลายคนอาจสงสัยว่า ความหวานกับความมัน จะดีต่อสุขภาพได้อย่างไร ? แต่อาจารย์นพวรรณทำได้ โดยพัฒนา รูปแบบ และดัดแปลงความหวานด้วยการใช้ความหวานจากผลไม้ส่วนความมันกะทิก็ลดปริมาณลงแล้วใส่ข้าวบาร์เลย์แทนหรือการนำพืชผักและสมุนไพรมา เป็นส่วนผสมด้วยเช่นดอกอัญชันแทนสีน้ำเงินดอกคำฝอยแทนสีแดงใบเตยแทนสีเขียวหรือใส่งาดำเพิ่มคุณค่าอาหารทำให้เกิดขนมไทยรูปแบบใหม่ มีความอร่อยลงตัวและส่งผลดีต่อสุขภาพได้ด้วยบ้านขนมไทยนพวรรณมีขนมให้เลือกมากมายกว่า๑๐๐ชนิดด้วยการผลิตที่สดใหม่ซึ่งเป็นจุดเด่นที่ทำ ชื่อเสียงให้กับบ้านขนมไทย เน้นการจัดตกแต่งและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ความเป็นไทยทำให้ขนมไทยนพวรรณมีชื่อเสียงและขยายธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศใน รูปแบบ แฟรนไชส์ ที่มีมาตรฐานและคุณภาพ ช่วยให้ท่านสามารถเลือกใช้ขนมไทยในโอกาสพิเศษ เช่น งานเลี้ยงต่างๆ หรือการประชุมหรือเป็นของขวัญของฝากผู้ใหญ่ ญาติสนิทมิตรสหายได้ทุกเทศกาล หรือจะทำเป็นธุรกิจ SME ส่วนตัว ก็สามารถทำได้
ขนมไทยของขวัญนานาเทศกาล
ขนมไทยมีมากมายหลายชนิดทั้งที่เป็นขนมไทยแบบโบราณและขนมที่รับมาจากต่างประเทศจนกลืนเป็นขนมของไทยด้วยความช่างประดิด ประดอยคิดค้นและวิวัฒนาการของคนไทยทำให้ขนมไทยโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะและมีคุณค่าในตัวเองปัจจุบันคนไทยหันมานิยมใช้ขนมไทย เป็นของขวัญของฝากในนานาเทศกาลไม่ว่าจะเป็นวันขึ้นปีใหม่ไทยหรือสากลวันคล้ายวันเกิดวันขึ้นบ้านใหม่วันเกษียณอายุราชการฯลฯขนมไทยกับ ความหมายให้ เลือกใช้ตาม เทศกาล
ขนมไทยมีมากมายหลายชนิดทั้งที่เป็นขนมไทยแบบโบราณและขนมที่รับมาจากต่างประเทศจนกลืนเป็นขนมของไทยด้วยความช่างประดิด ประดอยคิดค้นและวิวัฒนาการของคนไทยทำให้ขนมไทยโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะและมีคุณค่าในตัวเองปัจจุบันคนไทยหันมานิยมใช้ขนมไทย เป็นของขวัญของฝากในนานาเทศกาลไม่ว่าจะเป็นวันขึ้นปีใหม่ไทยหรือสากลวันคล้ายวันเกิดวันขึ้นบ้านใหม่วันเกษียณอายุราชการฯลฯขนมไทยกับ ความหมายให้ เลือกใช้ตาม เทศกาล
- ขนมชั้น – ความเจริญก้าวหน้าในขั้น เลื่อนตำแหน่ง เลื่อนชั้น
- ขนมจ่ามงกุฎ – ความเจริญก้าวหน้า เป็นหัวหน้า เลื่อนยศ
- ขนมถ้วยฟู – ความเจริญฟูเฟื่อง รุ่งเรือง
- ขนมตาล – ความหวานชื่น ราบรื่นของชีวิต
- ขนมทองเอก – ความเป็นหนึ่ง
- ขนมลูกชุบ – ความน่ารักน่าเอ็นดู มักใช้กับผู้ใหญ่ให้กับผู้น้อย
- ข้าวเหนียวแก้ว – ความดีประเสริฐ ดุจดังแก้ว
- ขนมเสน่ห์จันทร์-ความมีเสน่ห์ดุจจันทร์วันเพ็ญฯลฯ
ที่สำคัญหากเป็นขนมที่ทำขึ้นเองรสอร่อยสวยงามซึ่งแสดงถึงความตั้งใจจริงของผู้ให้พร้อมบัตรคำอวยพรที่มีความหมายคล้องจองกับขนม ที่ให้จะ ประทับใจทั้งผู้ให้และผู้รับ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น